slide slide slide slide slide slide slide

สาระน่ารู้

การพิมพ์ Inkjet

UPDATE 2023-05-07 17:10:52

เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกหรือเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ  ลงบนกระดาษ   เมื่อ
ต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตเมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตเมทริกซ์ 

Inkjet Indoor

Inkjet Indoor เป็นงานติดตั้งภายในอาคารหรือที่ที่แดดไม่ส่องเน้นรายละเอียดความคมชัดของงานความละเอียดสูงถึง 1200 Dpi เป็นงานใกล้สายตาเหมาะสำหรับงานโฆษณาโปรโมชั่นงานตกแต่งหน้าร้านนิทรรศการหรือเปิดตัวสินค้า

Inkjet Outdoor

Inkjet Outdoor เป็นงานติดตั้งภายนอกอาคารมีความละเอียด  720 Dpi – 1400 Dpi 700 Dpi  เหมาะกับงานลักษณะเป็นตัวหนังสือและขนาดใหญ่ตั้งแต่  1  ตารางเมตรสำหรับระยะการมองที่  2  เมตรเป็นต้นไป  1400  Dpi  เหมาะกับงานที่ต้องการความคมชัดสูงมองในระยะใกล้ได้อย่างคมชัด Inkjet
Outdoor เหมาะสำหรับงานป้ายภายนอกอาคารที่มีความคงทนเช่นป้าย Billboard ขนาดใหญ่และโฆษณาติดข้างรถต่างๆ

การพิมพ์ Digital

แต่เดิมเราอยากจะทำสื่อสิ่งพิมพ์หรือพิมพ์หนังสือแต่ล่ะทีถือเป็นเรื่องใหญ่ ไหนจะต้องหาโรงพิมพ์ หาคนจัดทำหน้า หอบไฟล์งานไปโรงพิมพ์นั่งรอเป็นวัน กว่าจะได้แผ่นงานออกมาปรู๊ฟดูความถูกต้องรอผลิตงานเป็นอาทิตย์ และที่สำคัญเราไม่สามารถพิมพ์หนังสือจำนวนน้อยหรือตามจำนวนที่เราต้องการจริงได้ บางทีพิมพ์งานออกมาจำนวนมหาศาลทำลายกระดาษมากมายแล้วก็เอามาทิ้งเพราะไม่ได้ใช้งาน

ปัจจุบันปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้หมดไปโดยระบบการพิมพ์แบบดิจิตอล การพิมพ์แบบดิจิตอลคือ การพิมพ์จากไฟล์งานโดยตรงผ่านเครื่องพิมพ์ที่ทันสมัย ไม่ต้องมานั่งสร้างเพลทแยกสีในการพิมพ์เหมือนการพิมพ์แบบออฟเซต ดังนั้นการพิมพ์แบบดิจิตอลจึงลดขบวนการทำที่ยุ่งยากไปได้มาก

- ประหยัดเวลา

  แค่นำไฟล์งานไปเข้าเครื่องพิมพ์ระบบก็จะทำการปรู๊ฟออกมาให้เห็นทางหน้าจอและรอที่จะผลิตได้เลยขบวนการทั้งหมดในการพิมพ์ใช้เวลาไม่กี่วัน

- ประหยัดทรัพยากร

  ต้องการ 100 เล่มก็พิมพ์แค่ 100 เล่มไม่ต้องพิมพ์มากกว่าจำนวนที่ต้องการ

ความรู้ในการใช้กระดาษ

เรื่องราวน่ารู้ของกระดาษในการพิมพ์

ทุกวันนี้กระดาษมาตรฐานขนาด A4 นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งขนาด A เป็นขนาดมาตรฐานของ ISO ไอเดียของการออกแบบเริ่มต้นมีดังนี้ในระบบมาตรฐาน ISO นั้น ขนาดกระดาษที่เรียกว่าได้มาตรฐานจะมีอัตราส่วนด้านยาว : ด้านกว้างเป็น 1 : 1.4142 หรือ 1 ต่อ square-root 2 ด้วยอัตราส่วนนี้จะทำให้การคำนวณขนาดกระดาษ size  ต่างๆ เป็นไปได้ด้วยความสะดวกเพราะหากนำกระดาษที่มีอัตราส่วนนี้สองแผ่นมาวางต่อกันในด้านยาวแล้วจะได้กระดาษแผ่นใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงอัตราส่วนเดิมอยู่คือ 1 ต่อ 1.4142

ความแตกต่างระหว่างชนิด A,B,C

ขนาดกระดาษตามมาตรฐาน ISO/ DIN ในขนาดมิลลิเมตรและนิ้ว

      

 

แกรมคืออะไร

เมื่อพูดถึงกระดาษขนาด 70 แกรมกับ 60 แกรมคงพอจะรู้กันว่ากระดาษที่มีจำนวนแกรมมากกว่าคือกระดาษที่มีขนาดหนากว่ากันอยู่แล้ว แต่เคยสงสัยกันมั้ยว่า แกรมที่ว่านี้มันคืออะไร? วัดกันยังไง? คำว่าแกรมนี้ก็คือกรัม ( gram ) นั่นเอง คือหน่วยที่ใช้วัดมวลกระดาษ เมื่อนำกระดาษชนิดหนึ่งที่มีพื้นที่ 1 x 1 ตารางเมตรมาชั่งแล้วจะมีน้ำหนักกี่กรัม ( แกรม ) ฉะนั้นกระดาษขนาด 120 แกรมจึงหมายถึงกระดาษที่มีน้ำหนัก 120 กรัม / ตารางเมตร

ในทางกระบวนการพิมพ์แล้วกระดาษที่มีจำนวนแกรมน้อย ( บาง ) จะทำให้แสงส่องผ่านได้มากกว่า เมื่อทำการพิมพ์ไปแล้ว จึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่จะมองทะลุไปเห็นหน้าตรงข้าม ทำให้ดูแล้วไม่สวยงามและยังรบกวนการอ่านอีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้อง balance เรื่องของความหนาให้เหมาะสมกับจำนวนหน้าและประเภทของหนังสือที่พิมพ์ให้ดีด้วย หนังสือที่หนามากไม่ควรจะใช้กระดาษที่หนาเกินไปเพราะจะทำให้หนักและหนาไม่น่าอ่าน อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อราคาต้นทุนการผลิต ส่วนหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อยการใช้กระดาษที่หนาขึ้นมานิดนึง อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นนิดนึงแต่ก็จะทำให้หนังสือไม่บางจนเกินไปดูแล้วสวยงาม แกรมที่เหมาะสมสำหรับพิมพ์เนื้อหาด้านในคือ 70 – 80 แกรม

ส่วนการพิมพ์หน้าปกนั้น ต่างจากการพิมพ์เนื้อหาด้านในอยู่ เพราะปกเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มไส้ในไว้จึงจำเป็นจะต้องแข็งแรงและปกป้องอายุของหนังสือไว้ได้นานระดับหนึ่ง อีกทั้งเป็นสิ่งแรกสุดที่ผู้อ่านเห็นหน้าปกที่สวยงามดึงดูดตาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น กระดาษที่ใช้จึงจะต้องหนาและเหมาะสมแก่การพิมพ์ปกทางโรงพิมพ์แนะนำให้ใช้ 120 แกรมขึ้นไปสำหรับการพิมพ์ปก

จำนวนแกรมที่นิยมใช้ในงานต่างๆ

ใบเสร็จสิ่งพิมพ์ที่ต้องมีสำเนาหรือหน้าในของ dictionary

   40–60 แกรม

กระดาษหัวจดหมายหน้าเนื้อในของหนังสือนิตยสารเนื้อในของสมุด       

   70–80 แกรม        

โบรชัวร์สี่สีหน้าสี่สีของนิตยสารโปสเตอร์

   120–160 แกรม                

ปกหนังสือนิตยสารสมุดแฟ้มนำเสนองานกล่องสินค้า

   210–300 แกรม                        

ชนิดของกระดาษ

ชนิดของกระดาษเป็น อีกหนึ่งปัจจัยที่แปรผันตรงกับต้นทุนการพิมพ์กระดาษที่ดีมีคุณภาพสูงจะให้งานที่ออกมาดูดีสวยงามและคงทน แต่ก็จะทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วย เหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสูงเก็บไว้ใช้งานได้นาน กระดาษคุณภาพรองลงมาอาจจะใช้สำหรับงานที่ไม่ต้องการความสวยงามมากหรือไม่ต้องการเก็บไว้นานเช่นใบปลิวหนังสือพิมพ์ฯลฯ

1.กระดาษอาร์ต
    กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่นผิวเรียบเหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สีเช่นโปสเตอร์โบรชัวร์ปกวารสารฯลฯกระดาษชนิดนี้ราคาค่อนสูงคุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไปแล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตด้วยมีให้เลือกหลายแบบ

2.กระดาษอาร์ตมัน
    กระดาษเนื้อเรียบเป็นมันเงาพิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริงสามารถเคลือบเงาได้ดีความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85แกรม, 90แกรม, 100แกรม, 105แกรม,
120 แกรม, 130แกรม, 140แกรม, 160แกรม

3.กระดาษอาร์ตมันด้าน
    กระดาษเนื้อเรียบแต่เนื้อไม่มันพิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อยแต่ดูหรูความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85แกรม, 90แกรม, 100แกรม, 105แกรม, 120แกรม, 130แกรม, 140แกรม, 160แกรม

4.กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีขนาดหนาตั้งแต่ 100 แกรมขึ้นไปเหมาะสำหรับพิมพ์งานโปสเตอร์โปสการ์ดปกหนังสือหรืองานต่างๆที่ต้องการความหนา

5.กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า
    เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้าหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไปเหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว เช่น
กล่องบรรจุสินค้าต่างๆโปสเตอร์โปสการ์ดปกหนังสือเป็นต้น

- กระดาษปอนด์
กระดาษปอนด์จะนิยมใช้ในงานหนังสือโดยเฉพาะเนื้อใน เหมาะสำหรับงานที่ผู้ผลิตมีงบประมาณจำกัด(กระดาษอาร์ตมีราคาแพงกว่ามาก) และต้องการผลิตหนังสือราคาไม่แพงเนื้อกระดาษมีคุณสมบัติรองรับน้ำหนักได้ในระดับปานกลางตามความหนาในกระดาษที่ต่ำกว่าปอนด์ 80 หากใช้สีมากหมึกจะซึมทะลุด้านหลังได้ดังนั้นถ้าหากมีภาพควรใช้กระดาษปอนด์ 80 ขึ้นไปเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย

- กระดาษถนอมสายตา(Green Read)
เป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นสำหรับงานหนังสือโดย    เฉพาะเนื้อกระดาษเป็นสีเหลืองนวลช่วยลดแสงสะท้อนสู่ดวงตาทำให้อ่านหนังสือได้สบายสายตากระดาษถนอมสายตามีน้ำหนักเบาและเมื่อทำเป็นเล่มขึ้นมาจะมี ความหนาดูคุ้มค่าคุณสมบัติเนื้อกระดาษรองรับสีได้ดีเมื่อพิมพ์ภาพลงไปแล้วสีจะดูสดใสและนวลมีราคาแพงกว่ากระดาษปอนด์ไม่มากเกินไปเหมาะกับการใช้พิมพ์งานหนังสือที่มีเนื้อหามากเช่นหนังสือประเภทวรรณกรรม

-  กระดาษปรู๊ฟ
กระดาษปรู๊ฟเป็นกระดาษที่มีราคาถูกเนื้อกระดาษบางมีสีเหลืองอ่อนๆเหมาะกับการใช้ในงานพิมพ์ที่มีอายุการใช้งานสั้นเน้นจำนวนการผลิตมากซึ่งหนังสือพิมพ์รายวันเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดเพราะคุณสมบัติของกระดาษตรงกับลักษณะการใช้งาน

-  กระดาษคาร์บอนเลส
เป็นกระดาษที่มีการเคลือบเคมีเมื่อเขียนด้านบนแล้วข้อความก็จะติดไปในกระดาษแผ่นล่างด้วยเพื่อทำเป็นสำเนากระดาษ ชนิดนี้เหมาะกับการทำเป็นใบกำกับภาษีใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารด้านการเงินขององค์กรที่ต้องการสำเนาหลักฐาน

- กระดาษกล่องและกระดาษลูกฟูก
กระดาษสองชนิดนี้เป็นกระดาษที่นำมาขึ้นรูป   เป็น บรรจุภัณฑ์ได้เนื้อกระดาษมีความแข็งแรงตาม ชนิด ของกระดาษเนื้อกระดาษปกติมีอยู่สองสีถ้าเป็นหน้าขาวจะพิมพ์ได้สวยงามทำให้สินค้าดูมีคุณค่าแต่ถ้าเป็นสีน้ำตาลก็มักจะใช้กับสินค้าบางประเภท

-  กระดาษแอร์เมล์
เป็นกระดาษที่มีเนื้อบางมากปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว

-  กระดาษพีวีซี
กระดาษชนิดนี้มีความทนทานเนื้อเหนียวส่วนมากนำมาใช้ทำนามบัตรและปกรายงาน

ความเหมาะสมของกระดาษในการพิมพ์

คุณสมบัติของกระดาษที่เหมาะกับงานพิมพ์

กระดาษในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์นั้นมีที่มาจากหลายบริษัทดังนั้นกระดาษชนิดเดียวกันอาจจะมี ความแตกต่างกันได้เช่นในเรื่องของความชื้นการรับน้ำหมึกความขาวความหนาเป็นต้นซึ่งปัจจัยเหล่านี้มักมีสาเหตุจากการจัดเก็บและรบกวนการผลิตทำให้ผู้เลือกใช้กระดาษควรทราบการเลือกใช้กระดาษที่มีคุณสมบัติเหมาะสมดังนี้

1.น้ำหนักกระดาษต้องได้ค่ามาตรฐาน g. / sq.m. ถูกต้อง

2.ความต้านทานต่อแรงดึงผิวกระดาษเนื่อง จากกระดาษจะถูกดึงและกดพิมพ์หากกระดาษไม่มีความต้านทานกระดาษจะยึด เมื่อพิมพ์สี่สีภาพจะคลาดเคลื่อนไม่คมชัดได้

3.ความต้านทานต่อน้ำ และความชื้นกระดาษที่ดีต้องสามารถกรองรับน้ำหมึกได้อย่างเหมาะสมและไม่ซึมทะลุหลัง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระดาษเลือกใช้ด้วย เช่น ถ้าเป็นกระดาษบางหมึกอาจซึมได้แต่ไม่ควรให้มากเกินควร

4.ความชื้นของกระดาษกระดาษ ที่เก็บสต๊อกไม่ดีจะมีความชื้นที่มากเกินไปซึ่งจะมีผลต่องานพิมพ์ทำให้คุณภาพลดลงสีสันของ เนื้อกระดาษการเลือกใช้กระดาษควรจะดูที่เนื้อสีของผิวกระดาษด้วยว่าถูกต้องตามชนิดของกระดาษนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นกระดาษ Green Read เนื้อจะต้องสีเหลืองนวลเป็นต้น

5.ความทึบของกระดาษเนื้อกระดาษที่เลือกใช้จะต้องมีลักษณะที่โปร่งหรือทึบตามน้ำหนักแกรมที่เลือกหากหนามากแสงจะต้องไม่สามารถผ่านมาด้านหลังได้

6.ลักษณะผิว กระดาษผิวกระดาษจะต้องเป็น เนื้อเดียวกันและมีความสม่ำเสมอกันทั้งแผ่นไม่มีฝุ่นหรือเนื้อกระดาษการเรียงตัวของเยื่ยกระดาษเส้นใยกระดาษเป็นแนวเดียวกัน